เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 10. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ 2 อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน ลุกเป็นไฟขึ้น เพราะ
แยกไม้ 2 อันนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นก็ดับไป ระงับไป
แม้ฉันใด สุขินทรีย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป ระงับไป ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ฯลฯ อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้นวางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ดับไป ระงับไป”

กัฏโฐปมสูตรที่ 9 จบ

10. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ที่เกิดสับลำดับกัน

[510] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
อินทรีย์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทุกขินทรีย์ 2. โทมนันสินทรีย์
3. สุขินทรีย์ 4. โทมนัสสินทรีย์
5. อุเปกขินทรีย์
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกขินทรีย์นั้นซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :318 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [4. อินทริยสังยุต]
4. สุขินทริยวรรค 10. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดทุกขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่
เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่
เหลือในปฐมฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งทุกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โทมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลย
ที่โทมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จัก
เกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับ
แห่งโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในทุติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
สุขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และสุขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่สุขินทรีย์นั้นซึ่ง
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดสุขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่ง
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :319 }